ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03
น้องแสงแสด
มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 ครั้งที่ 12

Regional Research Expo 2023

ภายใต้แนวคิด “วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล”
วันที่ 28-30 มิถุนายน พ.ศ.2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03
ผู้ลงทะเบียน
วิทยากร
0
หัวข้อเสวนา
0
นิทรรศการ
0
น้องแสงแสด

ความเป็นมา

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เริ่มจัด มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) เริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีระดับชาติในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมและกิจกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพของหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยได้เผยแพร่สู่ผู้ใช้ประโยชน์
ดังนั้น เพื่อเป็นการขยายขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในภูมิภาคต่างๆ จึงได้กำหนดให้มีการจัดงานนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศด้วย ทั้งนี้ การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค (Regional Research Expo)” ได้ดำเนินการจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – ถึงปัจจุบัน ซึ่งได้หมุนเวียนการจัดงานไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศโดยมีหน่วยงานมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน
ทั้งนี้ “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค (Regional Research Expo)” ครั้งที่ 12  ในปี พ.ศ. 2566 กำหนดจัดขึ้นในภาคใต้ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าภาพการจัดงาน ภายใต้แนวคิด “วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล” เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ โดยใช้การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างเศรษฐกิจภูมิภาคบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องไปสู่อนาคตต่อไป

สีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

สีประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

เจดีย์องค์พระมหาธาตุ

หลังคาทับเกษตร

น้องแสงแสด

นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเฉลียวฉลาด หลักแหลม ผู้รู้ คงแก่เรียน จึงเหมาะแก่การนำ มาออกแบบเป็นมาสคอตที่เกี่ยวกับการศึกษา วิจัยในตำนานนกฮูกเป็นนกที่เกี่ยวพันกับเทพและความเป็นมงคลหลายประการ เช่น เป็นพาหนะของพระลักษมี เทพแห่งความุดมสมบูรณ์ และเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้อกับอธีน่า เทพแห่งปัญญา

แนวคิดการออกแบบ
ผู้ออกแบบได้นำ เอาเครื่องแต่งกายคือ โสร่ง ผูกด้วยผ้าขาม้า ซึ่งโสร่งเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวใต้และผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ของคนพื้นถิ่น เพื่อสร้างความรู้สึกเข้าถึงง่าย และมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน

ในด้านการออกแบบ สีของนกฮูก โดยปกติจะเป็นสีน้ำ ตาล แต่ปรับให้เป็นสีส้มเพื่อให้สื่อถึงสีแสดม่วง อันเป็นสีของมหาวิทยาลัย โดยมีการปรับความสดสว่างของทั้งสองสีเล็กน้อย ชื่อของมาสคอตน้องแสงแสด มาจากแนวคิดที่ว่าโดยปกตินกฮูกจะเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน แต่แสงแสดตรงข้ามกับนกฮูกตัวอื่นๆ ด้วยความโดดเด่น สดใสร่าเริงเปี่ยมพลัง เขาสามารถศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าวิจัยได้ทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

น้องแสงแสด
ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03

นิทรรศการ

ภายใต้หัวข้อ

"วิจัยนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล"

โครงการเฉลิมพระเกียรติ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช.

การวิจัยของหน่วยงานเครือข่ายในภูมิภาค/ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
นิทรรศการ Highlight
อัตลักษณ์ภาคใต้
น้องแสงแสด
ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03
ดอกประดู่-03

ประชุมเสวนา


กิจกรรมเสวนา “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Humen etich)”
การจัดอบรมจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยที่ทำวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ได้รับทราบหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากการที่จะทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ นักวิจัยจะต้องยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัยและต้องมีการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยประกอบการยื่นขอรับรองโครงการ และการอบรมครั้งนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมทราบหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติทางด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ดังนี้ 

  1. ประวัติความเป็นมาของจริยธรรมวิจัยในคน
  2. แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย
  3. บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยและผู้วิจัย
  4. การจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน
  5. การประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยง
  6. การวิจัยในกลุ่มเปราะบาง
  7. หลักความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับ
  8. กระบวนการขอความยินยอม

ตารางกิจกรรม
เวลา 12.30-12.45 น.
ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม
เวลา 12.45-13.00 น.
พิธีเปิดการอบรม
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จรัญ  บุญกาญจน์ (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
เวลา 13.00-14.00 น.
– ประวัติความเป็นมาของจริยธรรมวิจัยในคน, แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย (Introduction (history, guideline, responsible conduct of research)
โดย ดร.อโณทัย โภคาธิกรณ์ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
เวลา 14.00-15.00 น.
– บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยและผู้วิจัย (Roles  and  Responsibilities  of  Institutional Review Board and Researcher)
– การจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)
– การประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยง (Risk and Benefit Assessment)
โดย พ.อ.รศ.นพ.นิธิพันธ์ สุขสุเมฆ
เวลา่ 15.00-15.15 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
เวลา 15.15-16.15 น.
– การวิจัยในกลุ่มเปราะบาง (Vulnerability)
– หลักความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับ (Privacy and Confidentiality)
โดย นพ.ปิติ ฉลองวิริยะเลิศ
เวลา 16.15-16.45 น.
– กระบวนการขอความยินยอม (Informed Consent Process)
โดย ดร.อโณทัย โภคาธิกรณ์
เวลา 16.45-17.00 น.
ตอบข้อซักถาม

วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 12.30-17.00 น. ณ 5301 อาคารเรียนรวม 5

ผู้ประสานงาน
คุณสุดารัตน์ ช้างโรง
โทร: 0-7567-3590, 0-7567-3596
Email: wu.wuec@gmail.com

กิจกรรมเสวนาในหัวข้อเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง (U-School Mentoring) และ มีการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดจากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

หัวข้อการเสวนา : “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง” โดย

  1. คุณพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี  (ผู้บริหารโครงการ U-School Mentoring จากสำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. ผศ.ดร.นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  (ผู้แทนเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง)
  3. คุณณัฐพัชร์ เพชรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพังยอม เขต3

นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดจากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดย

  1. ผศ.ดร.สมเกียรติ สัจจารักษ์  (หัวหน้าศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต)
  2. ผศ.ดร.พัชรี อิ่มศรี (อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
  3. ผศ.ดร. ทัศนียา บริพิศ (อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
    1.  

วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้อง 5310 อาคารเรียนรวม 5

ผู้ประสานงาน 
คุณกนธิชา เกื้อมา
โทร: 0-7567-3563
Email: konticha.ke@wu.ac.th



AI หรือปัญญาประดิษฐ์ จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในโลกอนาคต ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ การได้รับความรู้เกี่ยวกับ AI จะช่วยให้สามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในการทำงานและช่วยงานในชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ สร้างโอกาสในการทำงานและประกอบอาชีพใหม่ๆ ลดความเสี่ยงในการนำ AI ไปใช้ในทางมิชอบ

หัวข้อการบรรยายของวิทยากร

  • การบรรยาย “AI กับอนาคตของมนุษยชาติ” โดยคุณ คุณธีรเศรษฐ์ จิรภัทร์ชาญเดช
  • เสวนาวิชาการ AI กับโลกอนาคต โดย ดร. บูคอรี ซาเหาะ ผศ.ดร.ชิเดนทรีย์ ตรีสัตยพันธุ์ รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี และ คุณธีรเศรษฐ์ จิรภัทร์ชาญเดช ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. พูลพงษ์ บุญพราหมณ์

วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้อง 5201 อาคารเรียนรวม 5

ผู้ประสานงาน
ดร.ยุทธนา เจริญรื่น
โทร: 089-625-3314
Email: jyuttana@wu.ac.th




เสวนาเรื่องการพัฒนาและอนุรักษ์ไก่พื้นเมืองไทย เพื่อการรักษาไว้ซึ่งพันธุกรรม และการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมที่มีในประเทศไทยในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการลดการนำเข้าพันธุ์ไก่จากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับไก่พื้นเมือง เช่น กีฬาชนไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเสวนาในเรื่องของการนำไก่พื้นเมืองไปใช้ผลิตไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้า เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงทางอาหาร สร้างรายแก่เกษตรกรฐานรากได้อย่างยัง่ยืน

วิทยากร

  1. คุณประยูร เงินพรหม ประธานหอการค้า จังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. ดร.แสนศักดิ์ นาคะวิสุทธิ์ กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
  3. รศ.ดร.อมรรัตน์ โมฬี สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  4. ผศ.ดร.วิทธวัช โมฬี สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  5. ผศ.ดร.วรางคณา กิจพิพิธ วิทยาลัยสัตวแพทย์อัครราชกุมารี มหาลิทยาลัยวลัยลักษณ์
  6. คุณชุมพร จันทรชิต ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านควนหนองคว้า อ.จุฬาภรณ์
  7. คุณทองใบ ศรีตะวัน ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านควนหนองคว้า อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช
  8. เชฟ ร้านอาหารหลานตาชู

วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 5217 อาคารเรียนรวม 5

ผู้ประสานงาน
โครงการไก่ลิกอร์
โทร. 086-403-4200



การเสวนา และนำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่นผ่านโปสเตอร์ พร้อมกับการให้คำปรึกษาทางธุรกิจเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการในอนาคตทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานอัตลักษณ์ที่มุ่งสู่ความยั่งยืนในภาคใต้ ภายใต้หัวข้อ 1) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยงานวิจัยใช้ประโยชน์ : จากหิ้งสู่ห้าง 2) บทบาทงานวิจัยและการต่อยอดเชิงพาณิชย์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์ 3) การเพิ่มมูลค่าเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อย่อย กรณีศึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SMEs การเพิ่มมูลค่าเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมลาและข้าวพื้นเมือง โดยมีการนำเสนอ การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ภายใต้ แบรนด์อาหารทะแลแปรรูป “ปลาณีต” จากบริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด

วิทยากรและหัวข้อการบรรยาย
  1. ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดงานและกล่าวปาฐกถา : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยงานวิจัยใช้ประโยชน์ : จากหิ้งสู่ห้าง
  2. ผศ.ดร.อรรณพ ทัศนอุดม Innovation House Awards: All stars Researcher หัวข้อ: บทบาทงานวิจัยและการต่อยอดเชิงพาณิชย์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์
  3. รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ หัวข้อ: การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยแบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  4. หัวข้อใหญ่ การเพิ่มมูลค่าเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
  5. ดร.อัจฉรา แสนคม ศูนย์ความเป็นเลิศการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หัวข้อ: การเพิ่มมูลค่าเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SMEs
  6. ผศ.ปุญญาเพชร เดชเพชรธรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หัวข้อ: การเพิ่มมูลค่าเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมลาและข้าวพื้นเมือง
  7. คุณสุเทพ ไชยธานี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด (Southern Seafood Products) หัวข้อ: การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ภายใต้ แบรนด์อาหารทะแลแปรรูป “ปลาณีต”

เวลาและสถานที่
วันที่ 28 มิ.ย. พ.ศ. 2566 เวลา 13:00-17:30 น. ณ อาคาร ST ห้อง ST213 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้ประสานงาน
สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โทร 0-7567-2201 E-mail : management@mail.wu.ac.th

การเสวนาทางวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หรือจุดเด่นของงานที่ ต้องการให้ผู้เข้าฟังที่ประกอบธุรกิจ หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ได้รับความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนกับวิทยากรในการผลิตสมุนไพรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และสามารถนำสมุนไพรที่ได้ไปพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสามารถขึ้นทะเบียนได้

กำหนดการ
เวลา 08.30 – 09.00 น.
ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
เวลา 09.00 – 09.10 น.
กล่าวเปิดงาน
โดย ศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เวลา 09.10 – 10.00 น.
การบรรยาย เรื่อง “การสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมสมุนไพร”
โดย คุณอัษฎาวุฒิ แสงนภาเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มัสเตอร์ โปร คอนซัลแท็นซ์ จำกัด
เวลา 10.00 – 10.20 น.
รับประทานอาหารว่าง
เวลา 10.20 – 11.10 น.
การบรรยาย เรื่อง “การจัดการ การปลูกสมุนไพรให้ได้มาตรฐานการผลิต”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ คุ้มชัย ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวลา 11.10 – 12.00 น.
การบรรยาย เรื่อง “การแปรรูปวัตถุดิบและการเตรียมการสกัดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จักรพันธ์ จุลศรีไกวัล หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวลา 12.00 – 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 13.50 น.
การบรรยาย เรื่อง “กฎและระเบียบมาตรฐานต่างๆ ในการควบคุมสถานที่ผลิต และผลิตภัณฑ์สมุนไพร” โดย ภญ.จิรารัตน์ เพิ่มภูศรี กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เวลา 13.50 – 14.50 น.
ถ่ายทอดประสบการณ์ Best practices “ผู้ผลิตสมุนไพรที่ประสบความสำเร็จ”
โดย คุณเสาวลักษณ์ มณีทอง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก จังหวัดตาก
เวลา 14:50 – 15.30 น.
ถ่ายทอดประสบการณ์ Best practices “ผู้ผลิตสมุนไพรที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้”
โดย คุณมูฮำหมัดยูซุฟ บุญผล (ชุมชนกลุ่มกระวาน ชุมชนบ้านเขาวัง) วิสาหกิจรวมเกษตรแปรรูปสมุนไพรบ้านเขาวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เวลา 15.00 – 15.20 น.
รับประทานอาหารว่าง
เวลา 15.20 – 16.20 น.
เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “การพัฒนาสมุนไพรเชิงพาณิชย์ในทุกมิติ”
โดย คุณอัษฎาวุฒิ แสงเพ็ญนภา
ผศ.ดร.จุฑามาศ คุ้มชัย
ภญ.จิรารัตน์ เพิ่มภูศรี

คุณเสาวลักษณ์ มณีทอง
คุณมูฮำหมัดยูซุฟ บุญผล
ดำเนินรายการโดย  รศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หมายเหตุ   กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

วัน เวลาและสถานที่
วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ระหว่างเวลา 09.00-16.30 น. ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5301

ดิดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ 
รศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์
โทร: 0-7567-2318 Email: spotjama@wu.ac.th

รายละเอียดกิจกรรมหลักมีสองส่วน คือ กิจกรรมประชุมวิชาการในห้องประชุมและการจัดนิทรรศการบริเวณโถงชั้นล่างของอาคารที่จัดการประชุมวิชาการ

กิจกรรมการประชุมวิชาการประกอบด้วย

  1. การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อุตสาหกรรมรังนกนางแอ่นจากบ้านนกแอ่นกินรังในประเทศกัมพูชา” โดยพันโทบุญเฮง ลี (Ly Bunheng) นักวิจัยอิสระธุรกิจตึกรังนกในประเทศกัมพูชา
  2. การสานเสวนา ช่วงที่ 1 นำเสนอผลการวิจัย
    (1) โครงการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการบริหารจัดการการประกอบธุรกิจบ้านนกแอ่นกินรัง : แนวทางในการพัฒนากฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น โดย อ.อมรรัตน์ อํามาตเสนา และ อ.สิณิษฐา ดิษฐปาน สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอ.ทรรศนะ นวลสมศรี สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
    (2) โครงการ การศึกษาพฤติกรรมการออกหากินของนกแอ่นกินรัง โดย อ.ดร. น.สพ.มาโนชญ์ ยินดี และรศ.ดร.น.สพ.วรวิทย์ วัชชวัลคุวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การสานเสวนา ช่วงที่ 2 นำเสนอผลการวิจัย

(3) โครงการ ธุรกิจลานประมูลรังนกจากตึกรังนกไทย โดยอาจารย์เกษม จันทร์ดำ
(4) โครงการ ปัจจัยบ้านรังนกที่ประสบความสําเร็จในประเทศไทย โดยคุณกิตติ ปักเข็ม
(5) โครงการ การพัฒนาคุณภาพรังนกของตึกรังนกในประเทศไทย โดยคุณนิรัญ เลขสุข

ส่วนการจัดนิทรรศการบริเวณโถงชั้นล่างของอาคารที่จัดการประชุมวิชาการ ประกอบไปด้วยการจัดแสดงผลผลิต/นวัตกรรมจากงานวิจัย เช่น เทคโนโลยีในการควบคุมดูแลบ้านรังนก, ตัวอย่างและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากรังนกแอ่น เช่น สินค้าแปรรูป เป็นต้น

ตารางกิจกรรม
เวลา 08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียนและรับอาหารว่าง
เวลา 09:00 – 09:10 น.
กล่าวเปิดกิจกรรมโดย หัวหน้าชุดโครงการวิจัย
เวลา 09:10 – 10:10 น.
การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ อุตสาหกรรมรังนกนางแอ่นจากบ้านนกแอ่นกินรังในประเทศกัมพูชา
โดย พันโทบุญเฮง ลี (Ly Bunheng) (นักวิจัยอิสระธุรกิจตึกรังนกในประเทศกัมพูชา)
เวลา 10:10 – 10:30 น.
มอบของที่ระลึกให้กับองค์ปาฐก
โดย อาจารย์เกษม จันทร์ดำ (ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจบ้านนกแอ่นกินรังและนักวิจัยอิสระ)
ถ่ายภาพร่วมกัน
เวลา 10:30 – 12:00 น.
การสานเสวนา ช่วงที่ 1 นำเสนอผลการวิจัย
(1) โครงการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการบริหารจัดการการประกอบธุรกิจบ้านนกแอ่นกินรัง : แนวทางในการพัฒนากฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น
โดย อ.อมรรัตน์ อํามาตเสนา และ อ.สิณิษฐา ดิษฐปาน (สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) และ อ.ทรรศนะ นวลสมศรี (สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
(2) โครงการ การศึกษาพฤติกรรมการออกหากินของนกแอ่นกินรัง
โดย อ.ดร. น.สพ.มาโนชญ์ ยินดี และ รศ.ดร.น.สพ.วรวิทย์ วัชชวัลคุ (วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
เวลา 12:00 – 13:00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
เวลา 13:00 – 15:00 น.
การสานเสวนา ช่วงที่ 2 นำเสนอผลการวิจัย
(3) โครงการ ธุรกิจลานประมูลรังนกจากตึกรังนกไทย
โดย อาจารย์เกษม จันทร์ดำ
(4) โครงการ ปัจจัยบ้านรังนกที่ประสบความสําเร็จในประเทศไทย
โดย คุณกิตติ ปักเข็ม
(5) โครงการ การพัฒนาคุณภาพรังนกของตึกรังนกในประเทศไทย
โดย คุณนิรัญ เลขสุข
เวลา 15: 00 – 16:00 น.
รับฟังความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการวิจัย
เวลา 16:00 – 16:15 น.
กล่าวสรุปผลการดำเนินชุดโครงการวิจัย ปิดกิจกรรม
เวลา 16:15 – 16:30 น.
มอบรางวัลให้แก่ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 100 ท่านแรก และเข้าร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ

วัน เวลาและสถานที่
วันที่ 29 มิถุนายน 2566
เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5310

ผู้ประสานงาน
อ.ทรรศนะ นวลสมศรี
โทร: 094-919-6146
Email: tassana.nu@wu.ac.th

การสัมมนา เสวนาทางวิชาการภายใต้แนวคิด “The New Era of Technology and Innovation for Laboratory, Life Sciences and Future Chemical Analysis” เป็นการเปิดโอกาส สร้างเสริมประสบการณ์ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ให้นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และอัพเดตเทรนด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี เทคนิควิธี และเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อรองรับงานวิจัย งานวิเคราะห์ทดสอบ งานการเรียนการสอน ซึ่งในงานนี้เป็นการรวบรวมเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก ทั้งด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านเทคนิคการแพทย์ เช่น การวิเคราะห์ระดับเซลล์และโมเลกุล การประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์ความละเอียดระดับโฟตอน การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์สำคัญในสมุนไพรไทย เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือและเทคโนโลยีเหล่านี้อาจจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานวิจัยด้านต่างๆ ง่าย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพ ความเชื่อมั่น และยกระดับการเผยแพร่งานวิจัยในอนาคตอีกด้วย

วิทยากร

  1. คุณฉวีวรรณ ปันคำ บริษัท ไบโอ-ราด แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด
  2. คุณปกรณ์ เพ็งอินทร์ บริษัท ธีระเทรดดิ้ง จำกัด
  3. คุณยุทธนา กาหลง บริษัท ไตร โซลูชั่น
  4. คุณสมพงษ์ วาทินชัย บริษัท ดีไซน์ ออลเทอร์เนทีฟ จำกัด
  5. Mr. Aaron goh บริษัท ฮอลลีวู้ด อิเตอร์เนชั่นแนล

ตารางกิจกรรม
29 มิถุนายน 2566
เวลา 09.00-10.00 น.

Bio-plex 200 system; the multiplex suspension array technique and Applications
โดย คุณฉวีวรรณ ปันคำ
เวลา 10.00-11.00 น.
ddPCR System; Advance in Molecular Testing 
โดย คุณปกรณ์ เพ็งอินทร์
เวลา 11.00-12.00 น.
เวลา 13.00-14.00 น.
การแยกสารและทำสารสำคัญให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค CPC
โดย คุณยุทธนา กาหลง
เวลา 14.00-15.00 น.
เวลา 15.00-16.00 น.
Laboratories for the 21st Century-LAB 21: Laboratory safety design standard and guideline
โดย คุณสมพงษ์ วาทินชัย
เวลา 16.00-17.00 น.

วันที่ 30 มิถุนายน 2566
เวลา 09.00-10.00 น.
Nikon AX/AX R Confocal Microscope AI-based tools for simplifying acquisition and analysis
เวลา 10.00-11.00 น.
เวลา 11.00-12.00 น.
 

วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
วันที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้อง 5201 ณ อาคารเรียนรวม 5
วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง 5201 ณ อาคารเรียนรวม 5

ผู้ประสานงาน
นางสาววศินี พูลสวัสดิ์
โทร: 0-7567-2596
Email: wasinee.po@wu.ac.th

รายละเอียดกิจกรรมเบื้องต้น
• เสวนา การพลิกโฉมการบริหารจัดการป่าไม้ของชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 
• ถ่ายทอดผลงานวิจัย “เทคนิคการอบไม้ สะเดาเทียม ตะเคียน ยางนา ประสิทธิภาพสูง”

วิทยากร
ปาฐกพิเศษ
“พลิกโฉมการบริหารจัดการป่าไม้ของชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
โดย คุณสมเดช คงเกื้อ (อดีตข้าราชการกรมป่าไม้ และโครงการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ จ.นครศรีธรรมราช)
“การปลูก การแปรรูป และผลิตภัณฑ์ไม้มีค่า ในสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)”
โดย คุณคีรี เถือนเหมือน (หัวหน้าฝ่ายบริหาร องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้)
“อนาคตและแนวโน้มการใช้ไม้มีค่าเป็นโครงสร้างอาคารสำเร็จรูป”
โดย คุณธานินทร์ ศรีเบญขรัตน์ (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)

สัมมนา
“การพัฒนาเทคนิคการวัดความเค้นในไม้สำหรับการอบไม้มีค่าในอุตสาหกรรม”
โดย ผศ.ดร.สถาพร จันทวี (มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช)
“ระบบควบคุมการอบไม้อัตโนมัติควบคุมโดยค่าความเค้นที่เกิดขึ้นในไม้ระหว่างการอบ”
โดย นายทวีศิลป์ วงศ์พรต (มหาวิทยาลัยลักษณ์)
“การออกแบบตารางการอบไม้ เทียม ตะเคียน และยางนา โดยใช้เทคนิคการวัดแรงคืนตัวของชิ้นไม้ผ่าครึ่ง”
โดย ผศ.ดร. สัจจพันธ์ ลีละตานนท์ (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
“การอบไม้ สะเดาเทียม ตะเคียน และยางนา แนวทางสำหรับอุตสาหกรรม”
โดย รศ.ดร. นิรันดร มาแทน (มหาวิทยาลัยลักษณ์)

เวลาและสถานที่
29 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5217

ผู้ประสานงาน
รศ.ดร.อจลวิชญ์ ฉันทวีโรจน์
0-7567-2368, 0-7567-2304
Email: cajalawi@wu.ac.th

ตารางกิจกรรม
เวลา 09.00-12.00 น.
– ผู้นำการเสวนา
– ความสำคัญของความสมบูรณ์พันธุ์และการจัดการระบบสืบพันธุ์กับการผลิตโคเนื้อโคขุน
โดย ผศ.ดร.สมคิด ชัยเพชร
– การควบคุมวงรอบการเป็นสัด การเหนี่ยวนำการเป็นสัดให้เกิดพร้อมกันและการจัดฤดูผสมพันธุ์
โดย ผศ.ดร.สมจิตร กันธาพรหม
– อาหารและการจัดการอาหารกับความสมบูรณ์พันธุ์พ่อแม่พันธุ์โคเนื้อ 
โดย อ.สุภิญญา ชูใจ
– เทคนิคด้านการจัดการผสมพันธุ์เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการสืบพันธุ์โคเนื้อ
– ปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์ต่ำ
โดย น.สพ.โฆษิต อารีกิจ

เวลาและสถานที่
29 มิ.ย. พ.ศ. 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ อาคาร ST ห้อง ST213 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เสวนาและแสดงงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เศษเหลือชีวมวลจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ตามหลักการ Bio Circular Economy (BCG) model และการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพื่อนำอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันสู่อุตสาหกรรมปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ

วิทยากร

  1. Prof. Dr. Yusuf Chisti
    Distinguished Professor, Universiti Malaysia Terengganu, Malaysia
  2. รศ.ดร.รัตนา จริยาบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  3. รศ.ดร.ประวิทย์ คงจันทร์
    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  4. รศ.ดร.สมพงศ์ โอทอง
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  5. รศ.ดร.สุธน ศรีวะโร
    สำนักวิชาวิศวกรรมศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  6. ผศ.ดร.วิชิตพันธุ์ รองวงศ
    สำนักวิชาวิศวกรรมศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เวลาและสถานที่
29 มิ.ย. พ.ศ. 2566 เวลา 13:00-16:30 น. ณ อาคาร ST ห้อง ST213 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้ประสานงาน 
ผศ.ดร.วิชิตพันธุ์ รองวงศ์
Email: wichitpan.ro@wu.ac.th


กิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม คือ

  1. การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การจัดการสุขภาพท้องถิ่นมิติใหม่ในบริบทการกระจายอำนาจ: การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
    จุดเด่น : สร้างบรรยากาศและบริบททางวิชาการที่เสริมสร้างความรู้ แนวคิด และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเด็นที่ยังคงท้าทายสังคมในด้านการพัฒนาระบบการจัดการสุขภาพโดยการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบ ให้กับนักศึกษา คณาจารย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรทางด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวมถึงกิจกรรมนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่กว้างขวางขึ้น
  2. การแข่งขันอภิปรายประเด็นสำคัญทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ
    จุดเด่น : เสริมสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนทางทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ผ่านการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาที่สะท้อนองค์ความรู้ และมุมมองต่างๆ ได้อย่างหลากหลายที่มีความน่าสนใจ รวมถึงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นทั้งด้านนักศึกษา

กำหนดการ
08.00-08.15 น.
ลงทะเบียน และรับอาหารว่าง ณ จุดรับลงทะเบียน
08.15-08.20 น.
กล่าวรายงานโครงการ
โดย ผศ.นันธิดา จันทร์ศิริ
(รักษาการแทนรองคณบดีสำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
08.20-08.30 น.
ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับและเปิดงาน
โดย รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
08.30-09.30 น.
การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ
“การจัดการสุขภาพท้องถิ่นมิติใหม่ในบริบทการกระจายอำนาจ: การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). ไปสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
(ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
09.30-09.40 น.
มอบของที่ระลึกให้กับองค์ปาฐก
โดย รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
และถ่ายภาพร่วมกัน
09.40-11.00 น.
การแข่งขันอภิปรายประเด็นสำคัญทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (ระดับชาติ) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
– แนะนำคณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน
– ประกาศกติกาและเกณฑ์การแข่งขัน
– แข่งขันการพูดอภิปรายฯ ทีมละ 2 คน
11.00-11.30 น.
ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมพิธีประกาศผลการแข่งขันและพิธีปิด ณ Highlight Stage
11.30-12.30 น.
ประกาศผลการแข่งขันอภิปรายประเด็นสำคัญทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ระดับชาติ
มอบโล่รางวัล และเกียรติบัตร โดยผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
และถ่ายภาพร่วมกัน ณ Highlight Stage
12.30 น.
พิธีปิดงาน ณ Highlight Stage

เวลาและสถานที่
วันที่ 30 มิ.ย. พ.ศ. 2566 เวลา 08.00-12:30 น. ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5310

ผู้ประสานงาน
สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
ผศ.นันธิดา จันทร์ศิริ, ดร.อาภาภรณ์ สุขหอม
โทร: 092-453-6954, 093-578-1211

 

  1. ความเป็นมาและความสำคัญของการอบรม  ปัจจุบันโลกของการหารายได้ในยุคเศรษฐกิจ BCG ของกลุ่มธุรกิจ Startup จะเข้าสู่การใช้ ปัญญาประดิษฐ์    อย่างเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ทำให้ประตูหลักของการเชื่อมโยงการหารายได้ในทุกอาชีพสรรพสิ่ง ถูกเปลี่ยนผ่านไปสู่    แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นหลังบ้าน (Backend) เพื่อนำส่งผลงานสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกันแบบแบบไร้รอยไปสู่กลุ่มเป้าหมายทั่วโลกทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน เกิดมูลค่าเพิ่มของงานประดิษฐ์และสร้างสรรค์หรือบริการต่างๆด้วยแอปพลิเคชันประสานเข้ากับปัญญาประดิษฐ์ เกิดผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยผ่านเทคโนโลยี หลอมรวมกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์นำมาแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่าให้กับสินทรัพย์ทางปัญญาในวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่จนไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในยุคเศรษฐกิจ BCG
  2. การอบรมนี้เหมาะสำหรับใคร:
    • นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างรายได้ด้วยการสร้างแอปพลิเคชันนำไปจำหน่ายบนกูเกิ้ลเพล์สโตร์
    • ผู้ที่สนใจอยากสร้างแอปเป็น Start-up เป็นของตัวเอง
    • ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การสร้างแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ด้วยโฟโตช้อปและอาษาเฟรมเวิร์ค
    • ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่
  3. คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม:
    • มีทักษะการใช้งานโปรแกรมโฟโตช้อปได้ดี (ใช้สำหรับออกแบบ UX/UI)
    • ทักษะการใช้งานโปรแกรม Window Explorer ได้ดีมากโดยเฉพาะเข้าใจการสร้างไฟล์, สร้างโฟลเดอร์, คัดลอก, ตัด และวางไฟล์
    • มีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ดี ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ในการควบคุมคอมพิวเตอร์ได้ดีมาก
    • มีความรู้การใช้งานอินเตอร์เน็ตดีมาก
    • หากมีทักษะในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นหรือมีการคิดเชิงตรรกะจะช่วยในการสร้างแอปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (แนะนำ)
  4. กำหนดการอบรม
    เวลา 9.00-9.30 น.
    1. การส่งเสริมกลุ่มธุรกิจ Startup ในยุคเศรษฐกิจ BCG คืออะไร
    เวลา 9.30-10.00 น.
    2. แนะนำการหารายได้ของ Startup คืออะไร
    3. ปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีในยุคที่ 5
    4. การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์กับงานในยุคเศรษฐกิจ BCG
    เวลา 10.00-10.30 น.
    5. ความหมายและความเป็นมาของแพลตฟอร์มอาษาเฟรมเวิร์ค
    เวลา 10.30-11.00 น.
    6.การเขียนแอปด้วยภาพ
    เวลา 11.00-11.30 น.
    7.การสร้างแอป Avatar ของธุรกิจ
    เวลา 11.30-12.00 น.
    8.การนำแอปเข้าสู่ Cloud Market Places
    รวม 1 ครั้ง จำนวน 3 ชม.
  5. เครื่องมือที่ใช้ในการอบรม (Tools)
    • ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาเองและติดตั้งโปรแกรมดังต่อไปนี้ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มอบรม
    (1) ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 7 (64Bit) หรือใหม่กว่าเท่านั้น (MacOS ใช้ผ่าน VMWare)
    (2) โปรแกรมโฟโตช้อป หรืออื่นๆ เช่น Photopea, Procreate ใช้ทดแทนได้
    (3) โปรแกรมอาษาเฟรมเวิร์ค
    (4) โทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์พร้อมสายชาร์จยูเอสบีเคเบิ้ล (ที่ส่งข้อมูลได้) หรือใช้โปรแกรมอีมูเลเตอร์ แอนดรอยด์ชื่อ BlueStacks หรือ Nox (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
    สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมอาษาเฟรมเวิร์ค SDK ได้ฟรีที่ http://www.arsa.ai
    (1) ไปที่ไอคอน Download และทำการติดตั้ง SDK และ Android Pack ให้เรียบร้อย
    (2) มีตัวอย่างการใช้งานอาษาเฟรมเวิร์คมากกว่า 100 ตัวอย่างพร้อมซอร์สโค้ดที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ทันทีผ่าน Github: https://github.com/arsaframework/examples\
    (3) คอร์สนี้ต้องการโปรแกรม ARSA Studio และ Redeem Code เพื่อสิทธิ์เข้าใช้งาน
  6. สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้และจำหน่ายแอปผ่านกูเกิ้ลเพล์สโตร์ (ไม่บังคับ) (Google Developer Account, Optional)
    • ลงทะเบียนเป็น Google Play Developer account ในราคา 25 เหรียญสหรัฐครั้งเดียวตลอดชีพ (ผู้เรียนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง, ใช้งานได้ 48 ชม.หลังชำระเงิน) https://support.google.com/googleplay/android-developer/answer/6112435?hl=th
    • ผูกบัญชีธนาคารของท่านไว้กับ Google Play Developer account ให้เรียบร้อย (ดูรหัส SWIFT BIC ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารของท่าน)

เวลาและสถานที่
วันที่ 30 มิ.ย. พ.ศ. 2566 เวลา 09.00-12:00 น. ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5217

น้องแสงแสด

วิทยากร

น้องแสงแสด

ผู้สนับสนุนและเครือข่าย

ภาครัฐ

ภาคเอกชน